เรื่องขี้ๆ ที่คนกินคีโตต้องเจอ

ภาพโดย lyperzyt จาก Pixabay

เมื่อก่อนตอนกินอาหารปกติป้าก็ท้องผูกเป็นปกติเช่นกัน ทั้งๆ ที่กินผักผลไม้จนแทบจะเคี้ยวเอื้อง น้ำหนักก็ขึ้นเอาๆ ท้องก็ผูกขนาดที่เกือบจะได้ผ่าริดสีดวงซะแล้ว หมอบอกว่าถ้ากินยาเซ็ทนี้หมด ครั้งหน้าเป็นอีกอาจจะผ่าแล้วล่ะ ซึ่งหลังจากอาการเลือดตกยางออกหาย ป้าก็เริ่มจะกลับมาลดน้ำหนักด้วยวิธีแอตกินส์ไดเอตตามที่เคยได้คำแนะนำจากหมอรพ.กรุงเทพระยองเมื่อปีนู้นนนนนนนน (คือมันนานมากจนจำไม่ได้ว่าปีไหน)

ตอนนู้นที่กินแบบแอตกินส์ไม่มีข้อมูลอะไรเลยหมอแค่บอกว่างดแป้ง งดน้ำตาล และนมก็กินไม่ได้ มันทำให้ทำได้ไม่นาน ครั้งนี้เจอข้อมูลในเว็บ Thai Keto Pal และสูตรอาหารจากเฟสบุคกรุ๊ป Thail Keto Friend จึงเปลี่ยนมากินแบบคีโตแทน

จากที่กลัวๆ ว่าน้องริดซี่จะกลับมาอีก แต่ตั้งแต่กินคีโต ณ ตอนนี้เข้าปีที่ 3 น้องริดชี่หายสาบสูญไปเลยค่ะ ถึงแม้ว่าหลังๆ ป้าจะกินผักไม่ถึง 400-500 กรัมตามที่กลุ่ม Thail Keto Friend แนะนำน้องริดชี่ก็ไม่กลับมาเยี่ยม เพราะอะไรน่ะเหรอคะ

  • เพราะกินเกลือและดื่มน้ำถึง
    ป้าผสมเกลือในน้ำดื่มขวดใหญ่ วางไว้ที่โต๊ะทำงานเพื่อใช้ดื่มทั้งวัน ไม่งั้นดื่มน้ำไม่ครบโควต้าค่ะ ปริมาณเกลือที่ผสมก็แล้วแต่อาหารที่วางแผนไว้วันนั้นๆ ปริมาณจึงไม่แน่นอน วันไหนทำปลาทอดราดน้ำปลาหรือต้มยำก็ต้องลดเกลือที่ผสมน้ำดื่มลงประมาณนี้
    เกลือที่ชาวคีโตต้องกิน
    1. โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม มีในเกลือทำอาหารทั่วไป
      • เท่ากับเกลือปรุงอาหาร 2.5 ช้อนชา (เกลือแกง 1 ช้อนชามีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม)
      • เท่ากับน้ำปลา, ซอสปรุงรส 12.50 ช้อนชา (น้ำปลา 1 ช้อนชามีโซเดียม 400 มิลลิกรัม) ดูที่ฉลากมีบอกค่ะ
    2. แมกนีเซียม 300 มิลลิกรัม มีหลายยี่ห้อแบล็คมอก็โอเค
    3. โพแทสเซียม 1,000 มิลลิกรัม มีในเกลือโลว์โซเดียม, ปลาแซลมอน (แต่แซลมอนมันแพงกินเกลือโพแทสเซียมแทนละกัน555) ในผักผลไม้ก็ในอะโวคาโด ผักโขม เห็ด
  • ในคนที่เพิ่งกินคีโตร่างกายยังย่อยไขมันได้ไม่ดี จึงทำให้ช่วงแรกจะขับง่าย ถ่ายคล่อง บางคนวันละ 3-4 รอบ หลังๆ จะดีขึ้นเอง
  • เพราะกิน ACV แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้มีมากขึ้น ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

สำหรับคนที่ท้องผูกอยู่ แอดช้าง KetoOkByLinpui เขียนเผยแพรไว้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 34 ตามนี้ค่ะ

[EP.24] โอยยย…ท้องผูก ทำยังไงดี ไม่อยากใช้ยาด้วย ??

หลายคนที่เข้ามากินคีโต ส่วนใหญ่น่าจะมีปัญหาท้องผูกไม่มากก็น้อยใช่มั้ยครับ วันนี้ผมมีคำตอบมาให้นะครับว่าจะทำยังไงกับมันดี

#แค่ไหนถึงเรียกว่าท้องผูก
คนที่ถือว่าระบบขับถ่ายปกติ จะถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง/วัน และมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ ดังนั้นถ้าท้องผูกก็คือ ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ครับ

#มีวิธีการป้องกันหรือแก้ไขมั้ย มีครับ เป็นข้อๆ ดังนี้

  1. ดื่มน้ำให้พอ (นำ 43.5xนน.ตัว เช่น หนัก 60 กก.x43.5 ได้ 2,610 cc./1วันครับ (น้ำสิงห์ขวดใหญ่สุด 2 ขวดครึ่ง) ห้ามกินน้อยกว่านี้)
  2. ทานผักใบเขียวให้เพียงพอ ประมาณ 300-400 กรัม/วัน ถ้าทานผักสดไม่ถึง ให้ทานผักเม็ดเสริมได้ เอาที่ไม่มีน้ำตาลผสม
  3. ออกกำลังกาย ⚽??การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายสะดวกขึ้น
  4. สร้างอุปนิสัยการขับถ่ายตอนเช้า โดยหลังอาหารเช้าให้เข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายทันที ??? (แม้จะถ่ายไม่ออก แต่ให้ฝึกทุกวัน) เนื่องจากหลังทานอาหารจะมีคำสั่ง(กระแสประสาท) จากลำไส้เล็กไปลำไส้ใหญ่ให้ขับถ่ายกากอาหารออกไป (เรียกว่า gastrocolic reflex ครับ)
  5. ทำทุกวิถีทางแล้ว อยากได้อีกซักวิธี ได้ครับได้ ผมเพิ่มการนวดท้องให้ครับ
    • เอามือขวาเท้าสะเอวจะเจอกระดูกปูดๆแหลมๆทางด้านหน้าให้กดเหนือกระดูกนั้นลึกๆ แล้วนวดตามเข็มนาฬิกา 20 ครั้ง (จุดที่ 1 ตามรูป)
    • หลังจากนั้นเลื่อนไปจุดที่ 2 3 4 5 6 เรื่อยๆ ถือเป็น 1 รอบ
    • ให้ทำ 3 รอบนะครับ เพื่อกระตุ้นการขับถ่าย
  6. ส่วนถ้าอยากจะใช้ยา ได้ครับ แต่ให้ไปปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้านนะ ว่าคุณมีปัญหาจริงๆ ขอซื้อ bisacodyl ให้ทานก่อนนอนครับ ผ่านไป 6-8 ชม. มันจะกระตุ้นการบีบลำไส้ ถ้าร่วมกับเทคนิคการทานข้าวเช้าด้วยจะยิ่งดีครับ ตามเทคนิคในข้อ 4 แต่ไม่ควรพึ่งยาบ่อยนะครับ ลำไส้มันจะเคยชินกับการใช้ยา ทำให้ใช้ยาขนาดเดิมไม่ได้ผล?ด้วยรักและสุขภาพการขับถ่ายดี ??