เช็คลิสต์ความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน ต้นเหตุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

มหาลัยปิดเทอมลูกแบกกระเป๋าใบใหญ่มากกกก 2 ใบขึ้นรถทัวว์กลับบ้าน ที่ตกใจมากกว่ากระเป๋าใบใหญ่ที่ลูกแบก ก็น้ำหนักลูกนี่แหละ มีรอยดำที่คอเป็นปื้นเลย เห็นแล้วนึกถึงตัวเองเมื่อหลายปีก่อนที่คอดำ น้ำหนักมากถึง 84 ก.ก คอสเลสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอไรด์สูง HDLต่ำ แน่นอนจ่ะผลเลือดแบบนี้หมอจ่ายยาลดคอสเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์ มาให้กิน 3 เดือน ตรวจเลือดแล้วเอาผลไปใหม่ ผลออกมากินยามันก็ต้องลดอยู่แล้ว หมอให้ยาเดิมมาอีก รอบนี้กินยาบ้างไม่กินบ้าง นานๆ เข้าก็คิด เอ..ฉันต้องกินยาตลอดเลยเหรอ นั่นคือจุดเริ่มของการกินคีโตของป้า ทำให้น้ำหนักลด รอยดำที่คอหายหายไปตอนไหนไม่รู้ เข้าใจเรื่องคอสเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น

ป้าบังคับลูกเข้าคอร์สคีโตเลย เป้าหมายแรกน้ำหนักคุณเธอต้องลด จาก 78 เหลือ 72 ก.ก. ก่อนเปิดเทอม แค่เดือนแรกนน.ลดไปเหลือ 74 ก.ก. ก็รู้แหละว่าช่วงแรกน้ำหนักที่หายไปเป็นน้ำในเซลซะส่วนใหญ่ กินคีโตได้เดือนเดียวก็ต้องหยุดเพราะต้องเดินทางน้ำหนักดีดขึ้นมาเป็น 75 ออกคีโตไปเกือบๆ เดือน กลับเข้าคีโตใหม่ตอนนี้ (15/06/67) น้ำหนักอยู่ที่ 72-73 ก.ก. รอยดำที่คอยังไม่จางลง แถมเพิ่งเห็นรอยดำที่รักแร้ซึ่งมันเข้มมาก จนเค้าเริ่มกลัวจะต้องกินยา กลัวจะเป็นเบาหวานจึงสมัครใจกินคีโต และตอนนี้ที่กินคีโตสิวอักเสบที่หน้าน้อยลงมากๆ เลยด้วย

เพราะรอยดำที่คอและรักแร้ของลูกทำให้กลัวว่าลูกจะดื้ออินซูลินแล้วจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 วันนี้เลยพาไปตรวจเลือดที่ศูนย์ตรวจเลือดระยองใกล้ๆตลาดเก่า บอกเจ้าหน้าที่ว่าต้องการตรวจน้ำตาลกับไขมันทั้งหมดค่าตรวจแค่ 440 บาทเอง ชม.เดียวก็ได้รับผลแล้ว พอเห็นผล…อ้าวทำไมไม่มีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม HbA1c ล่ะ เจ้าหน้าที่ว่าต้องแจ้งตรวจน้ำตาลสะสมด้วย บอกแค่ตรวจน้ำตาลจะเป็นการตรวจน้ำตาลปัจจุบัน FBS (Fasting Blood Sugar) ค่าตรวจน้ำตาลสะสม HbA1c ราคา 200 บาท ไอ้เราก็เข้าใจว่าบอกแค่ตรวจน้ำตาลก็ได้ เลยต้องเจ็บตัวอีกรอบ

ไหนๆ ก็ต้องเจ็บตัวอีกรอบแล้ว ตรวจ FPI (Fasting Plasma Insulin) ไปเลยละกัน รอบนี้ไปตรวจที่คอนเนคแล็บค่าตรวจ FPI 600 บาท ถูกกว่าที่ศูนย์ตรวจเลือดระยอง 100 แต่ HbA1c คอนเนคแล็บคิด 300 บาท

ทำไมถึงต้องกังวลกับรอยดำที่ผิวหนัง…เพราะมันสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินไง

แต่ใช่ว่ามีทุกคนที่มีรอยดำที่ผิวหนังแล้วจะดื้ออินซูลินเสมอไปนะ รอยดำที่ผิวหนังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ, เนื้องอกบางชนิด, ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ซึ่ง PCOS เองก็สัมพันธ์กับความอ้วนด้วย แต่หากรอยดำเกิดจากการดื้ออินซูลิน ในอนาคตไม่ต้องเป็นหมดดูก็ทายถูก จะได้แพ็คเกจใหญ่โรค NCDs อย่าง โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไขมันในเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง และกลุ่มอาการเมตาบอลิกแน่ เรื่องใหญ่เลยนะ

ปละจากที่ผ่านมาลูกสาวสิวอักเสบเยอะมาก ปิดเทอมก่อนก็เป็นซีสต่อมไขมันต้องผ่าตัดออก ไม่รู้ว่าซีสเกิดขึ้นเพราะอ้วนหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ช่วงที่กินคีโต นอกจากน้ำหนักลดลง หน้าใสสิวอักเสบหาย เหลืออยู่แค่ไม่กี่เม็ดเล็กๆ

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน

ชัวว์ที่สุดคือการคำนวณความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน HOMA-IRHOMA-IR (Homeostatic Model Assessment of Insulin Resistance) เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินภาวะดื้ออินซูลิน โดยคำนวณจากความสัมพันธ์ระหว่าง FPI (Fasting Plasma Insulin) ระดับอินซูลินและ FBS (Fasting Blood Sugar) ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดขณะอดอาหาร (Fasting) อย่างน้อย 8 ชม.

(ราคาค่าตรวจ FPI (Fasting Plasma Insulin) ที่ศูนย์ตรวจเลือดระยอง 700 บาท , คอนเนคแล็บ 600 บาท รอผล 2-3 วันเหมือนกัน ค่าตรวจ FBS(Fasting Blood Sugar) 40 บาท รอผล 1 ชม.)

หลักการของ HOMA-IR คือ

  • HOMA-IR คำนวณจากระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดขณะอดอาหาร
  • สูตร: HOMA-IR = (ระดับอินซูลิน x ระดับน้ำตาล) / 405
  • โดยสมมติฐานว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ปกติ

จากสมมติฐานว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ปกติ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับอ่อนผิดปกติ จะมีผลกระทบต่อความแม่นยำของ HOMA-IR

  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1: ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่ได้หรือได้น้อยมาก
  • ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะท้าย: เซลล์เบต้าเสื่อม ผลิตอินซูลินได้ลดลง
  • โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง: อาจมีการทำลายเซลล์เบต้า

    โดยสูตรการคำนวณ HOMA-IR คือ HOMA-IR = (FPI x FBS) / 405

    FPI (Fasting Plasma Insulin) คือ ระดับอินซูลินในพลาสมาขณะอดอาหาร มีหน่วยเป็น μU/mL (ไมโครยูนิตต่อมิลลิลิตร)
    FBS (Fasting Blood Sugar) คือ ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร มีหน่วยเป็น mg/dL (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร)
    405 เป็นค่าคงที่ ซึ่งได้จากผลคูณของค่าปกติของอินซูลิน (18 μU/mL) และค่าปกติของกลูโคส (4.5 mmol/L) ในหน่วย SI units แล้วคูณด้วย 1

    เกณฑ์การแปลผล HOMA-IR

    ยิ่งค่า HOMA-IR สูง แสดงว่ามีความต้านทานต่ออินสุลินมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้

    • < 1 ปกติ
    • 1-1.6 ภาวะดื้ออินสุลินเริ่มต้น
    • 1.6-2.5 ภาวะดื้ออินสุลินปานกลาง
    • 2.5 ภาวะดื้ออินสุลินรุนแรง

    หากไม่ได้ตรวจ FPI ก็ลองประเมินจากเช็คลิสต์ความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลินด้านล่าง หากเข้าข่ายหลายข้อ ไปหาหมอเถอะนะ